สมาคมคูราชแห่งประเทศไทย

คำสั่งและสัญญาณมือ

คำสั่งและสัญญาณมือที่ใช้ในการแข่งขันคูราช

คำสั่งทั่วไป

TAZIM / ทาซิม

ทำความเคารพ

แยกมือออกไปในระดับไหล่พร้อมกับหงายฝ่ามือขึ้นด้านบน หลังจากนั้นพับข้อศอกคว่ำมือให้นิ้วมือชนกัน “TAZIM” เป็นคำสั่งให้นักกีฬาคำนับกันและกัน พร้อมกับวางมือขวาบนหน้าอกด้านซ้าย

KURASH / คูราช

เริ่มการแข่งขัน

แยกมือออกไปในระดับไหล่พร้อมกับหงายฝ่ามือขึ้นด้านบน หลังจากนั้นพับข้อศอกคว่ำมือให้นิ้วมือชนกัน “TAZIM” เป็นคำสั่งให้นักกีฬาคำนับกันและกัน พร้อมกับวางมือขวาบนหน้าอกด้านซ้าย

TOKHTA / ทอคต้า

หยุดการแข่งขัน

การยื่นมือไปด้านหน้าขนานกับกิแลมในระดับไหล่ พร้อมกับฝ่ามือตั้งตรงไปทางกรรมการจับเวลา  ขาน “TOKHTA” ใช้เพื่อสั่งหยุดการแข่งขัน

VAKT / วักท

สิ้นสุดการต่อสู้

การไขว้มือทั้งสองข้างเหนือศีรษะพร้อมคว่ำฝ่ามือลงด้านล่าง  ขาน“ VAKT” เพื่อใช้แสดงว่าการต่อสู้ สิ้นสุดลง

หมายเหตุ  การแสดงท่าทางด้วยมือขวา และ มือซ้ายตามสีที่ yakhtak ของนักกีฬาที่ยืนอยู่ทั้ง 2 ข้างของผู้ชี้ขาด เมื่อแสดงท่าทาง ผู้ชี้ขาดยืนอยู่กึ่งกลางเบาะและควรประกาศคำสั่งที่สอดคล้องกับท่าทางด้วยเสียงที่ดัง 

สำหรับผลสรุปของคะแนนและการลงโทษจะแสดงบนป้ายคะแนน

JAZO / จาโซ

ในกรณีที่เวลาการแข่งขันผ่านไปครึ่งหนึ่งแล้วยังไม่มีใครได้คะแนนหรือถูกลงโทษเลย ผู้ตัดสินกลางต้อง หยุดเวลาของการแข่งขันและขาน “JAZO”   เมื่อมีการขาน “JAZO” ผู้ตัดสินกลางต้องยกแขนขวาขึ้นพร้อมกับกำมือ และขานดังๆ ว่า “JAZO”

  1. ซึ่งคำสั่ง “JAZO” อาจใช้ขานเพียงครั้งเดียวในระยะเวลาการแข่งขัน ถ้าในระหว่าง “ JAZO” ผู้เล่นใช้เทคนิค ทำให้ทั้งคู่ล้มลงไปบนกิแลมเหมือนกัน และในเวลาเดียวกัน สามารถขาน “JAZO” เพื่อหยุดเวลาได้อีกครั้ง
  2. เมื่อมีการประกาศ “JAZO” กรรมการที่อยู่มุมต้องตรวจสอบ yakhtaks ของผู้เล่นที่อยู่ใกล้ที่สุดไปตามลำดับ ผู้ตัดสินกลางต้องเรียกให้ผู้เล่นเข้ามาตรงกลางของกิแลม ผู้เล่นต้องจับเข็มขัดของคู่ต่อสู้ (มือขวาอยู่ใต้มือซ้ายของคู่ต่อสู้ มือซ้ายอยู่บนมือขวาของคู่ต่อสู้)
    และเมื่อผู้ตัดสินกลางประกาศว่า “คูราช” ให้เริ่มต่อสู้ ระยะห่างระหว่างแขนที่จับเข็มขัดทั้งสองข้างต้องห่าง 20 เซนติเมตร ศีรษะของผู้เล่นควรจะขนาน ซึ่งกันและกัน ลำตัวผู้เล่นต้องตั้งตรง หน้าอกของผู้เล่นทั้ง 2 คน ต้องติดกัน ข้อห้ามอย่างเคร่งครัดสำหรับ การโน้มตัวและการหลบหลีกให้พ้นจากการถูกจับและ ผู้ตัดสินจะต้องลงโทษทันที
  3. ผู้เล่นต้องใช้เทคนิคภายใน 5 วินาที ผู้เล่นที่หลีกเลี่ยงการต่อสู้ หรือจงใจล้มลงด้วยหัวเข่าต้องทำโทษด้วยการขาน “Tanbekh” ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งจงใจปลดเข็มขัดเพื่อหลีกเลี่ยง ไม่ให้ถูกเหวี่ยง ผู้ตัดสินต้องขาน “GIRROM” หลังจากที่ได้มีการหารือกับกรรมการประจำมุมต่างๆแล้ว
  4. ถ้าอยู่ในระหว่างช่วง “Jazo” แล้วผู้เล่น ๑ คนถูกขาน “Khalol” ให้ถือว่าการต่อสู้สิ้นสุดถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งถูกขาน “Yonbosh” หรือ “Chala” หรือ การลงโทษใดๆก็ตาม การต่อสู้ต้องดำเนิน ต่อไปในรูปแบบคูราชปกติ โดยไม่มีการจับเข็มขัดในช่วงเวลาของการแข่งขันที่ยังเหลืออยู่

คำสั่งให้คะแนน

KHALOL /คาลอล

ชนะอย่างสมบูรณ์

ชูแขนตรงสูงขึ้นเหนือศีรษะ พร้อมกับหงายฝ่ามือไปข้างหน้า ผู้ชี้ขาดประกาศเพื่อให้คะแนนในกรณี ถ้ามีการทุ่มให้หลังถูกพื้น โดยทำได้อย่างสวยงามและไม่มีข้อบกพร่องถือเป็นได้คะแนน

  1. สำหรับการทุ่ม แบบ “YONBOSH” เป็นครั้งที่ 2
  2. ถ้าหลังจากที่คู่ต่อสู้ล้มลงหลังแตะพื้น (ไหล่ทั้งสองข้าง)
  3. หลังจากการประกาศการลงโทษ “GIRROM”
  4. สำหรับการทุ่มประเมินโดย YONBOSH และคู่ต่อสู้ได้รับการเตือน(ลงโทษ) DAKKI
  5. สำหรับการไม่เข้ามาที่กิแลม (เบาะ) ใน 3 นาที

YONBOSH / ยอนบอส

ครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม

การยกแขนขึ้นมาระดับไหล่ พร้อมกับคว่ำฝ่ามือลงด้านล่าง

  1. เมื่อนักกีฬาทุ่มด้วยความแรง, เฉียบคม, การเคลื่อนไหวสวยงาม และคู่ต่อสู้ล้มลงด้านข้าง
  2. หลังจากการประกาศ DAKKI เตือน(ลงโทษ)คู่ต่อสู้

CHALA / ชาล่า

การยกมือขึ้น งอข้อศอก   นิ้วหัวแม่มืออยู่ในระดับไหล่ แบฝ่ามือ หันไปด้านหน้า ศอกอยู่ด้านข้าง

  1. ถ้านักกีฬาทุ่มคู่ต่อสู้ด้วยขา, สะโพก, พุง หรือ ด้านข้าง แต่เกิดความผิดพลาดทางเทคนิคอย่างร้ายแรง, ช้า และ ไม่ถูกต้อง
  2. ถ้า การประกาศเตือน(ลงโทษ)แบบ TANBEKH
  3. การประเมินแบบ CHALA กี่ครั้งก็ตาม ไม่สามารถนำมาใช้เพื่อการประเมินกรณีอื่นได้
  4. ถ้านักกีฬาทั้งคู่สามารถกระทำ CHALA หลายๆครั้ง นักกีฬาที่ทำ CHALA มากกว่า จะเป็นผู้ชนะ

BEKOR / เบกอ

การโบกมือ 2 – 3 ครั้ง ตรงๆ ข้างหน้าตัวเอง  ขาน BEKOR สำหรับการทุ่มที่ไม่ได้คะแนน

คำสั่งแจ้งโทษ

TANBEKH / ทานเบก

การชี้ไปที่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันด้วยนิ้วชี้  ขาน  TANBEKH  เมื่อมีการผิดกฎเพียงเล็กน้อย

  1. นักกีฬาหนีเพื่อไม่ให้คู่ต่อสู้เข้าทำการจับยึด
  2. นักกีฬาจงใจผลักคู่ต่อสู้ออกจากกิแลม หรือ ตนเอง วิ่งล้ำเข้าไปในเขตอันตรายของ กิแลม
  3. เครื่องแต่งกายของนักกีฬาไม่เรียบร้อย (ปลด หรือ แก้รัดเข็มขัด, กางเกงโดยไม่ได้รับความยินยอม จากผู้ชี้ขาด)
  4. นักกีฬาคว้าหรือยึด กางเกงหรือขาของคู่แข่งขัน
  5. หลังการจับ ยึดแล้ว นักกีฬาไม่พยายามรุกภายในเวลา 20-25 วินาที

DAKKI / ดักกิ

การยกมือขึ้น  งอข้อศอก กำมือ พร้อมกับหมุนนิ้วมือไปด้านหน้า และศอกแนบกับลำตัว ขาน DAKKI

  1. ผู้แข่งขันที่ฝ่าฝืนในระดับกลาง หรือ ได้รับการเตือน(ลงโทษ) TANBEKH มาแล้ว 1 ครั้ง
  2. ตั้งใจล้มลงด้วยเข่าซ้ำอีก
  3. ถ้านักกีฬาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ชี้ขาด พูดหรือตะโกนสบถหยาบ ๆ คาย ๆ

GIRROM / เกียร์รอม

การยืดแขนค้างไว้ พับข้อศอกมาข้างหน้าตนเอง  ด้วยฝ่ามือตรงเข้าหาตัว  และตวัดมือตรงไปยังผู้แข่งที่ลงโทษ ขาน GIRROM

  1. ผู้เข้าแข่งขันที่ละเมิดอย่างแรง หรือ เคยได้รับการเตือน(ลงโทษ) DAKKI มาแล้ว 1 ครั้ง
  2. สำหรับการตะโกนคำหยาบ หรือแสดงท่าทางก้าวร้าวต่อคู่ต่อสู้ และผู้ตัดสิน.
  3. ถ้านักกีฬาได้รับบาดเจ็บจากความผิดพลาดของคู่ต่อสู้ จะได้รับ KHALOL ส่วนคู่ต่อสู้ได้รับเตือน GIRROM