สมาคมคูราชแห่งประเทศไทย

โครงสร้างของคณะกรรมการตัดสิน

ตำแหน่งต่างๆ

ในการจัดการแข่งขันกีฬาคูราชที่มีมาตรฐาน สหพันธ์กีฬาคูราชนานาชาติ (International Kurash- Federation – IKA) ได้กำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการตัดสินและเจ้าหน้าที่เทคนิคกีฬาไว้อย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถจำแนกออกดังรายละเอียดต่อไปนี้

ผู้แทนและผู้จัดการ

TD

ผู้แทนด้านเทคนิคกีฬา

Technical Delegate/TD

ผู้แทนด้านเทคนิคกีฬา จากสหพันธ์ฯ หรือ จากสมาคมฯ(ผู้แทนสมาคมฯ) ต้องมีประสบการณ์สูง ด้านเทคนิคกีฬา Kurash ที่เกี่ยวกับการดำเนินการแข่งขัน มีอำนาจในการตัดสินใจสูงสุด

CM

ผู้จัดการแข่งขันกีฬา

Competition Manager/CM

มีหน้าที่วางแผนการทำงานด้านเทคนิคการจัดการแข่งขันกีฬา และทำงานร่วมกับ TD สามารถแก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดจากการแข่งขันได้ทุกเรื่อง และทำงานประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

Stadium Manager

ผู้จัดการสนามกีฬา

Venue Manager/VM

รับผิดชอบจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งสนับสนุนต่าง ๆ ในสนามแข่งขัน

กรรมการและผู้ตัดสิน

ITO

คณะผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่เทคนิคกีฬาระดับนานาชาติ

International Technical Official / ITO

เป็นผู้ที่สหพันธ์กีฬาคูราชนานาชาติ (IKA) ให้การรับรองว่าสามารถปฏิบัติหน้าที่การเป็นผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่เทคนิคในการแข่งขันระดับนานาชาติได้ ผู้ทำหน้าที่ตัดสินชี้ขาดต้องได้รับ License จากสหพันธ์ จึงสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

NTO

คณะผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่เทคนิคกีฬาระดับชาติ

National Technical Official/NTO

เป็นผู้ที่สมาคมกีฬาคูราชแห่งประเทศไทย (TKA) ให้การรับรองว่าสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่เทคนิคกีฬาคูราชในรายการแข่งขันระดับชาติที่สมาคมรับรองมาตรฐาน

Cheif Referee

หัวหน้าผู้ตัดสิน

Chief Referee / Referee Director

รับผิดชอบในการจัดการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกาการแข่งขัน นักกีฬา, ตัวแทนทีม, คณะกรรมการตัดสิน และ ผู้ดูแลควรจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของหัวหน้าผู้ตัดสิน

  1. ควบคุมอาคาร (โรงยิมส์ / สนามกีฬา), อุปกรณ์ และกิแลม (เบาะ) สำหรับใช้ในการแข่งขัน
  2. ควบคุมการจับสลากเพื่อแบ่งนักกีฬาออกเป็น 2 กลุ่มย่อยอย่างเคร่งครัด
  3. จัดแบ่งผู้ตัดสินไปตามกิแลม (เบาะ/แข่งขัน)
  4. จัดทำตารางการแข่งขัน
  5. จัดผู้ตัดสินสำหรับชั่งน้ำหนักนักกีฬา
  6. จัดผู้ตัดสินทำหน้าที่ในการแข่งขันแต่ละคู่ และประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสิน
  7. ทำการประชุมคณะผู้ตัดสินก่อนทำการแข่งขัน
  8. เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละวันให้สรุปผลการแข่งขันทั้งหมด
  9. หากมีปัญหาที่ต้องแก้ไขเร่งด่วนสามารถเชิญคณะผู้ตัดสินประชุมเพื่อหาข้อสรุป
  10. ประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสินระหว่างการแข่งขัน
  11. สรุปผลการแข่งขันอย่างครบถ้วน
  • สั่งเลื่อน และ ห้าม จัดการแข่งขัน ถ้าสถานที่ในการจัดการแข่งขัน, อุปกรณ์ และ กิแลม (เบาะ) ขาด ความพร้อมและไม่เป็นไปตามกฎที่กำหนด
  • เลื่อนการจัดการแข่งขันชั่วคราวหากเห็นว่ามีสิ่งที่อาจมีผลกระทบในการจัดแข่งขัน
  • ปรับเปลี่ยนการจัดการแข่งขัน หรือ ตารางของการแข่งขันตามความเหมาะสม
  • ถอดถอนผู้ตัดสินที่ฝ่าฝืนกฎ และ แจ้งให้คณะกรรมการตัดสินได้รับทราบ
  • ปลดนักกีฬาที่ฝ่าฝืนกฎ หรือ นักนักกีฬาที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมในการแข่งขัน
  • เตือน หรือ ปลดผู้ฝึกสอนของทีมที่ฝ่าฝืนกฎของ คูราช หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในระหว่างการแข่งขัน
    หมายเหตุ: หัวหน้าผู้ตัดสินไม่มีสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง หรือ ยกเลิกกฎของ คูราช
Chief Referee Deputy

รองหัวหน้าผู้ตัดสิน

Chief Referee deputy

ควรจะมีจำนวนมากกว่าหนึ่งคน  หรือทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนสนามที่ใช้แข่งขัน ทำหน้าที่รับผิดชอบแทนหัวหน้าผู้ตัดสินเป็นการชั่วคราวในระหว่างที่หัวหน้าผู้ตัดสินไม่อยู่ในระหว่างการแข่งขัน 

Center referee

ผู้ชี้ขาด

Center referee

  • ก่อนเริ่มการแข่งขัน ผู้ชี้ขาดตรวจสอบความพร้อมของนักกีฬา ความถูกต้องของเครื่องแต่งกายตามระเบียบของคูราช ถ้าพบว่าไม่สอดคล้องจะต้องสั่งให้เปลี่ยน (ในเวลาที่ได้กำหนด)
  • ผู้ชี้ขาดต้องควบคุมการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกาการแข่งขันอย่างเคร่งครัด
  • หลังจากต้องใช้วิธีการประเมินทุก ๆ ครั้ง ผู้ชี้ขาดควรจะหยุดการแข่งขัน (ด้วยคำสั่ง TOKHTA!) เพื่อทำการประเมิน 2-3 วินาที และเริ่มการแข่งขันอีกครั้งด้วยคำสั่ง “KURASH!”
  • นำการประเมินของผู้ตัดสินข้างสนามมาใช้ประกอบการพิจารณา
  • การแจ้งเตือนการกระทำที่ผิดกติกา ผู้ชี้ขาดควรหยุดการแข่งขันด้วยคำสั่ง “TOKHTA”และทำการเตือนใน 15-20 วินาที (ในเวลาดังกล่าวนักกีฬาต้องอยู่ในที่ของตนเองและจัดการเครื่องแต่งกายให้เรียบร้อย) จึงสั่ง “KURASH” เริ่มการแข่งขันต่อไป
  • เมื่อกรรมการจับเวลาส่งสัญญาณหมดเวลาการแข่งขัน ผู้ชี้ขาดหยุดการแข่งขันด้วยคำสั่ง “VAQT!” พร้อมสัญญาณมือที่ถูกต้อง
Side Referee

ผู้ตัดสินข้างสนาม

Side referees

  • ผู้ตัดสินข้างสนามจะต้องให้ความช่วยเหลือผู้ชี้ขาดในการประเมินการกระทำทั้งหมดของนักกีฬา รวมถึงการชี้ชัดถึงการเล่นของนักกีฬา กรณีในหรือนอกสนาม
  • ประเมินการกระทำทั้งหมดของนักกีฬาด้วยเสียงส่วนใหญ่ของผู้ตัดสินทั้ง 3 คน(2 ใน 3) หากผู้ตัดสิน ทั้ง 3 คน มีความเห็นไม่ตรงกันจำเป็นที่จะต้องหารือเพื่อสรุปความเห็นให้สอดคล้องตรงกัน
  • ในระหว่างการแข่งขัน ถ้านักกีฬาบนสนามแข่งขันจำเป็นต้องออกไปจาก กิแลม (เบาะ) ในเวลาสั้น ๆ ผู้ตัดสินข้างสนามจะต้องตามออกไปด้วย
StopWatch

กรรมการจับเวลา

Stop-watch referee

กรรมการจับเวลาจะทำหน้าที่หลังจากนักกีฬาขึ้นสู่เบาะแข่งขัน ทำหน้าที่ควบคุมเวลาระหว่างการแข่งขัน ถ้าหากนักกีฬาต้องได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์ในระหว่างเวลาการแข่งขันหรือการต่อสู้ต้องหยุดเวลาด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม กรรมการจับเวลาต้องนับเวลาระหว่างที่หยุด และแจ้งให้หัวหน้าผู้ตัดสินได้รับทราบในทันที
ScoreBoard

กรรมการบันทึกคะแนน

Scoreboard referee

กรรมการผู้จดบันทึกป้ายคะแนนต้องแสดงป้ายคะแนนการประเมินและการเตือน(ลงโทษ)ได้อย่างถูกต้อง ถ้ากรรมการป้ายคะแนนไม่เห็นหรือไม่ได้ยินการประกาศตัดสินของผู้ชี้ขาด  ให้ถามจากเลขานุการของ กิแลม (เบาะ) ผลการประเมินควรจะต้องแสดงอยู่บนป้ายคะแนน จนกว่าจะได้มีการประกาศผู้ชนะ

Announcer

กรรมการผู้ประกาศ

Announcer

กรรมการผู้ประกาศต้องแจ้งตารางการแข่งขัน น้ำหนัก,  ชื่อของนักกีฬาคู่ต่อไปที่จะทำการแข่งขัน,  ประกาศนักกีฬาทุก ๆ คนที่ต้องเข้าไปในกิแลม (เบาะ) รวมถึงประกาศชื่อผู้ตัดสินบนกิแลม (เบาะ) ต่อผู้ชมด้วย การประกาศผลการแข่งขันทั้งหมดจะทำได้หลังจากได้รับการรับรองจาก หัวหน้าผู้ตัดสิน หรือผู้ช่วยหัวหน้าผู้ตัดสินเท่านั้น 

เลขานุการ

ProfilePicture

หัวหน้าเลขานุการ

Chief Secretary of gilam

หัวหน้าเลขานุการตรวจสอบเอกสารของนักกีฬาเมื่อผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ เก็บรวบรวมรายงานการประชุมของคณะกรรมการตัดสิน รายงานการแข่งขันและเอกสารอื่นๆ 

และต้องลงลายมือชื่อพร้อมหัวหน้าผู้ตัดสินเพื่อรับรองผลการแข่งขัน

ProfilePicture

เลขานุการของกิแลม

Secretary of gilam

เลขานุการรักษารายงานการประชุมของกิแลม (เบาะ) สรุปการแข่งขัน และข้อเสนอแนะของการแข่งขันลงในรายงานการประชุม

แพทย์สนาม

FirstAid

แพทย์สนาม

Medical staff

  • แพทย์สนามและทีมปฐมพยาบาลจะประจำอยู่ข้างสนามแข่งขัน
  • แพทย์สนามและทีมปฐมพยาบาลจะขึ้นไปบนสนามแข่งขันเมื่อได้รับการร้องขอจากผู้ชี้ขาดบนสนาม เพื่อให้การปฐมพยาบาลอาการบาดเจ็บเบื้องต้นของนักกีฬา
  • แพทย์สนามมีหน้าที่ให้คำวินิจฉัยแก่ผู้ชี้ขาดบนสนามว่านักกีฬาสามารถแข่งขันต่อได้หรือไม่ 15.4 การบาดเจ็บบนสนามแข่งขันสามารถเรียกแพทย์-พยาบาล ขึ้นไปเพื่อปฐมพยาบาล ไม่เกินสองครั้ง หากมีการเรียกแพทย์เป็นครั้งที่สาม ให้ถือว่ายุติการแข่งขัน และนักกีฬาฝ่ายบาดเจ็บจะเป็นฝ่ายแพ้ทันที