1
ก่อนการเริ่มต้นการแข่งขันในแต่ละครั้ง ผู้ตัดสิน 3 คน (ผู้ชี้ขาด 1 คน, ผู้ตัดสิน 2 คน) ยืนอยู่ด้วยกันบริเวณขอบกิแลม (เบาะ)และวางมือขวาบนหน้าอกด้านซ้าย คำนับ หลังจากนั้นไปประจำที่ตัวเอง การออกจากกิแลม (เบาะ) สิ้นสุดการแข่งขัน ผู้ตัดสินทั้ง 3 คนต้องมาอยู่รวมกันบริเวณขอบกิแลม คำนับอีกครั้งพร้อมวางมือข้างขวาบนหน้าอกด้านซ้าย
2
ผู้เข้าร่วมการแข่งขันวางมือด้านขวาบนอกซ้ายต้องโค้งคำนับก่อนที่จะผ่านเข้าไปใน “เขตปลอดภัย” หลังจากคำนับแล้วให้ก้าวผ่านเข้าไปใน “เขตปลอดภัย” ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องไปยืนอยู่บริเวณจุดยืนที่มีสัญลักษณ์พิเศษ หลังจากนั้น วางมือขวาบนหน้าอกซ้าย และคำนับซึ่งกันและกัน
3
หลังจากที่ผู้ชี้ขาดทำการประกาศผลของการแข่งขัน ผู้เข้าร่วมการแข่งขันวางมือขวาบนหน้าอกซ้ายและโค้งคำนับซึ่งกันและกัน
4
ผู้ชี้ขาด และผู้ตัดสินข้างสนาม ควรเข้าประจำที่ของตนก่อนการแข่งขัน ก่อนที่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะเข้ามายังบริเวณกิแลม (เบาะ)
5
การโค้งคำนับทั้งหมดปฏิบัติโดย โค้งพับเอวไปด้านหน้า ถ้าผู้เข้าร่วมการแข่งขันไม่คำนับ ผู้ชี้ขาดต้องสั่งให้ทำการโค้งคำนับ
6
ตรวจสอบพื้นที่ต่อสู้สี่เหลี่ยมก่อนการแข่งขัน ผู้ตัดสินต้องตรวจสอบว่าบริเวณพื้นผิวของกิแลม (เบาะ) นั้นเรียบ, สะอาด, ปราศจากร่องระหว่างเบาะ, เก้าอี้ของผู้ตัดสินอยู่ในบริเวณของแต่ละคน ผู้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นไปตามระเบียบ ผู้ชี้ขาดจะต้องอยู่บริเวณตรงกลางของกิแลม (เบาะ) โดยหันหน้าไปทางโต๊ะบันทึกเวลา
7
เมื่อผู้ชี้ขาดออกคำสั่ง “TOKHTA!” ควรมองที่ผู้เข้าแข่งขัน
หลักการวิเคราะห์การให้คะแนนอย่างถูกต้อง คือ เมื่อมีการทำเทคนิคเกิดขึ้น แล้วมีการล้มลงสู่พื้น จะต้องหยุดการแข่งขันและมีการพิจารณาทันทีว่า
1
ใครเป็นผู้กระทำเทคนิค (เขียว หรือน้ำเงิน) และเทคนิคที่ทำได้คะแนนหรือไม่
2
ถ้าได้จะได้เท่าไหร่ ซึ่งข้อนี้สำคัญมาก เนื่องจากคูราชจะเน้นพิจารณาจากการลงสู่พื้นในจังหวะแรกว่าลักษณะลงสู่พื้นเป็นอย่างไร แล้วตัดสินใจให้คะแนนตามนั้น จะไม่ค่อยสนใจการกลิ้งไหลต่อเนื่อง
ผู้ตัดสินจะต้องแสดงท่าทางที่บอกถึงลักษณะการทำผิดกติกาก่อนจะมีคำสั่งลงโทษด้วย Tanbekt, Dakki, หรือ Girrom