Category: กีฬาคูราช

  • กติกาการแข่งขัน

    กติกาการแข่งขัน

    หลักการแข่งขันคูราช​ การเริ่มต้น และสิ้นสุดการแข่งขัน​ 1 ก่อนการเริ่มต้นการแข่งขันในแต่ละครั้ง ผู้ตัดสิน 3 คน (ผู้ชี้ขาด 1 คน, ผู้ตัดสิน 2 คน) ยืนอยู่ด้วยกันบริเวณขอบกิแลม (เบาะ)และวางมือขวาบนหน้าอกด้านซ้าย คำนับ หลังจากนั้นไปประจำที่ตัวเอง การออกจากกิแลม (เบาะ) สิ้นสุดการแข่งขัน ผู้ตัดสินทั้ง 3 คนต้องมาอยู่รวมกันบริเวณขอบกิแลม คำนับอีกครั้งพร้อมวางมือข้างขวาบนหน้าอกด้านซ้าย 2ผู้เข้าร่วมการแข่งขันวางมือด้านขวาบนอกซ้ายต้องโค้งคำนับก่อนที่จะผ่านเข้าไปใน “เขตปลอดภัย” หลังจากคำนับแล้วให้ก้าวผ่านเข้าไปใน “เขตปลอดภัย” ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องไปยืนอยู่บริเวณจุดยืนที่มีสัญลักษณ์พิเศษ หลังจากนั้น วางมือขวาบนหน้าอกซ้าย และคำนับซึ่งกันและกัน 3หลังจากที่ผู้ชี้ขาดทำการประกาศผลของการแข่งขัน ผู้เข้าร่วมการแข่งขันวางมือขวาบนหน้าอกซ้ายและโค้งคำนับซึ่งกันและกัน 4ผู้ชี้ขาด และผู้ตัดสินข้างสนาม ควรเข้าประจำที่ของตนก่อนการแข่งขัน ก่อนที่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะเข้ามายังบริเวณกิแลม (เบาะ) 5การโค้งคำนับทั้งหมดปฏิบัติโดย โค้งพับเอวไปด้านหน้า  ถ้าผู้เข้าร่วมการแข่งขันไม่คำนับ ผู้ชี้ขาดต้องสั่งให้ทำการโค้งคำนับ 6ตรวจสอบพื้นที่ต่อสู้สี่เหลี่ยมก่อนการแข่งขัน ผู้ตัดสินต้องตรวจสอบว่าบริเวณพื้นผิวของกิแลม (เบาะ) นั้นเรียบ, สะอาด, ปราศจากร่องระหว่างเบาะ, เก้าอี้ของผู้ตัดสินอยู่ในบริเวณของแต่ละคน ผู้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นไปตามระเบียบ ผู้ชี้ขาดจะต้องอยู่บริเวณตรงกลางของกิแลม (เบาะ) โดยหันหน้าไปทางโต๊ะบันทึกเวลา…

  • คำสั่งและสัญญาณมือ

    คำสั่งและสัญญาณมือ

    คำสั่งและสัญญาณมือ คำสั่งและสัญญาณมือที่ใช้ในการแข่งขันคูราช คำสั่งทั้งหมด คำสั่งทั่วไป คำสั่งให้คะแนน คำสั่งแจ้งโทษ TAZIM / ทาซิม​ ทำความเคารพ KURASH / คูราช เริ่มการแข่งขัน TOKHTA / ทอคต้า หยุดการแข่งขัน ดูคำสั่งอื่น คำสั่งทั่วไป TAZIM / ทาซิม ทำความเคารพ แยกมือออกไปในระดับไหล่พร้อมกับหงายฝ่ามือขึ้นด้านบน หลังจากนั้นพับข้อศอกคว่ำมือให้นิ้วมือชนกัน “TAZIM” เป็นคำสั่งให้นักกีฬาคำนับกันและกัน พร้อมกับวางมือขวาบนหน้าอกด้านซ้าย KURASH / คูราช เริ่มการแข่งขัน แยกมือออกไปในระดับไหล่พร้อมกับหงายฝ่ามือขึ้นด้านบน หลังจากนั้นพับข้อศอกคว่ำมือให้นิ้วมือชนกัน “TAZIM” เป็นคำสั่งให้นักกีฬาคำนับกันและกัน พร้อมกับวางมือขวาบนหน้าอกด้านซ้าย TOKHTA / ทอคต้า หยุดการแข่งขัน การยื่นมือไปด้านหน้าขนานกับกิแลมในระดับไหล่ พร้อมกับฝ่ามือตั้งตรงไปทางกรรมการจับเวลา  ขาน “TOKHTA” ใช้เพื่อสั่งหยุดการแข่งขัน VAKT / วักท สิ้นสุดการต่อสู้ การไขว้มือทั้งสองข้างเหนือศีรษะพร้อมคว่ำฝ่ามือลงด้านล่าง  ขาน“ VAKT” เพื่อใช้แสดงว่าการต่อสู้…

  • การจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน

    การจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน

    การจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน รูปแบบต่างๆของการจับสลาก ในปัจจุบัน การจับสลากสายการแข่งขัน มีหลากหลายรูปแบบทั้งแบบดั้งเดิม คือ ทำสลากจากกระดาษและม้วนเป็นสลาก แล้วขึ้นกระดานสายการแข่งขัน หรือในสมัยนี้นิยมใช้คอมพิวเตอร์-ผ่านโปรแกรมอิเล็คทรอนิค  บทความที่เกี่ยวข้อง หลักการแข่งขัน อ่านบทความ คำสั่งและสัญญาณมือ อ่านบทความ การจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน อ่านบทความ การชั่งน้ำหนัก อ่านบทความ โครงสร้างของคณะกรรมการตัดสิน อ่านบทความ ดูเพิ่มเติม

  • การชั่งน้ำหนัก

    การชั่งน้ำหนัก

    การชั่งน้ำหนัก กฎกติกาในการชั่งน้ำหนักเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน  ผู้เข้าร่วมการแข่งขันรุ่นน้ำหนักเดียวกัน  จะต้องชั่งน้ำหนักในวันเดียวกัน บนเครื่องชั่งเดียวกันก่อนการแข่งขัน  การชั่งน้ำหนักจะต้องดำเนินภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง นักกีฬาที่ทำการชั่ง ต้องแสดงบัตรประจำตัว นักกีฬาที่ไม่ได้ทำการชั่งน้ำหนักจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขัน ในระหว่างการชั่งน้ำหนัก  นักกีฬาชายอนุญาตให้สวมเพียงแค่กางเกงขาสั้น หรือกางเกงว่ายน้ำเท่านั้น นักกีฬาหญิงสวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ไม่อนุญาตให้เปลือยกายชั่งน้ำหนัก  การชั่งน้ำหนักนักกีฬา ต้องมีคณะกรรมการประกอบด้วย  หัวหน้าผู้ตัดสิน  รองหัวหน้าผู้ตัดสิน, เลขานุการ  เจ้าหน้าที่พยาบาล  ผู้ตัดสิน  2-3 คน หลังจากการชั่งน้ำหนักต้องเขียนนามสกุล(ลงลายมือชื่อ)ของนักกีฬา ลงในรายงานการชั่งน้ำหนัก    บทความที่เกี่ยวข้อง หลักการแข่งขัน อ่านบทความ คำสั่งและสัญญาณมือ อ่านบทความ การจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน อ่านบทความ การชั่งน้ำหนัก อ่านบทความ โครงสร้างของคณะกรรมการตัดสิน อ่านบทความ ดูเพิ่มเติม

  • โครงสร้างของคณะกรรมการตัดสิน

    โครงสร้างของคณะกรรมการตัดสิน

    โครงสร้างของคณะกรรมการตัดสิน ตำแหน่งต่างๆ ในการจัดการแข่งขันกีฬาคูราชที่มีมาตรฐาน สหพันธ์กีฬาคูราชนานาชาติ (International Kurash- Federation – IKA) ได้กำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการตัดสินและเจ้าหน้าที่เทคนิคกีฬาไว้อย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถจำแนกออกดังรายละเอียดต่อไปนี้ ทั้งหมด ผู้แทนและผู้จัดการ กรรมการและผู้ตัดสิน เลขานุการ แพทย์สนาม ผู้แทนด้านเทคนิคกีฬา Technical Delegate/TD ผู้จัดการแข่งขันกีฬา Competition Manager/CM​ ผู้จัดการสนามกีฬา​ Venue Manager/VM​ คณะผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่เทคนิคกีฬาระดับนานาชาติ ​ International Technical Official / ITO​ ดูเจ้าหน้าที่อื่นๆ ผู้แทนและผู้จัดการ ผู้แทนด้านเทคนิคกีฬา Technical Delegate/TD ผู้แทนด้านเทคนิคกีฬา จากสหพันธ์ฯ หรือ จากสมาคมฯ(ผู้แทนสมาคมฯ) ต้องมีประสบการณ์สูง ด้านเทคนิคกีฬา Kurash ที่เกี่ยวกับการดำเนินการแข่งขัน มีอำนาจในการตัดสินใจสูงสุด ผู้จัดการแข่งขันกีฬา Competition Manager/CM มีหน้าที่วางแผนการทำงานด้านเทคนิคการจัดการแข่งขันกีฬา และทำงานร่วมกับ TD สามารถแก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดจากการแข่งขันได้ทุกเรื่อง และทำงานประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผู้จัดการสนามกีฬา…

  • ประวัติกีฬาคูราชในประเทศไทย

    ประวัติกีฬาคูราชในประเทศไทย

    ประวัติกีฬาคูราชในประเทศไทย จุดเริ่มต้นของกีฬาคูราชในประเทศไทย พ.ศ.2552 (ค.ศ.2009) ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาการต่อสู้ป้องกันตัวระดับเอเชีย ครั้งที่ 1 (1st Asian Martial Arts Games’ 2009) ซึ่ง “กีฬาคูราช” ได้ถูกบรรจุเข้าในเกมส์กีฬาต่อสู้ป้องกันตัวระดับเอเชียในครั้งนี้ด้วย เนื่องจากยังไม่ได้มีการจัดตั้งสมาคมคูราชแห่งประเทศไทยขึ้นในขณะนั้น โดยความเห็นชอบของการกีฬาแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย มีมติมอบหมายให้สมาคมมวยปล้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดการแข่งขันและการส่งนักกีฬาคูราชเข้าร่วมการแข่งขัน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์วังสรรค์ สุฉันทบุตร นายกสมาคมมวยปล้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และว่าที่ร้อยตรีจรินทร์ นพรัตน์ เลขาธิการสมาคมฯ ในขณะนั้น เป็นผู้รับผิดชอบ วันที่ 19-22 มกราคม 2552 สมาคมมวยปล้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนจากสหพันธ์กีฬาคูราชนานาชาติ(IKA) ส่งผู้ฝึกสอนกีฬาคูราชและผู้อำนวยการฝ่ายผู้ตัดสินของสหพันธ์กีฬาคูราชนานาชาติ มาให้การอบรมแก่ผู้ฝึกสอน นักกีฬาและเจ้าหน้าฝ่ายต่างๆของประเทศไทย ทำให้เกิดความรู้ความเข้าในกีฬาคูราชมากยิ่งขึ้น Mr.Reza Nassari Rayชาวอิหร่าน (วิทยากร) เหตุการณ์สำคัญของวงการคูราชในประเทศไทย สิงหาคม 2552 | แข่งขันกีฬาคูราชครั้งแรกของนักกีฬาคูราชทีมชาติไทย ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬาไทยเข้าแข่งขันกีฬาคูราชเป็นครั้งแคกในรายการ 1st Asian Martial Arts Games’…

  • ประวัติกีฬาคูราช

    ประวัติกีฬาคูราช

    ประวัติกีฬาคูราช จุดเริ่มต้นของกีฬาคูราช คูราช (KURASH)   เป็นกีฬาที่เป็นศิลปะการต่อสู้ประเภทมวยปล้ำประจำท้องถิ่นที่มีต้นกำเนิดมาจากอุซเบกิสถานเมื่อประมาณ 2,500-3,000 ปีมาแล้ว คูราช (KURASH) เป็นคำมาจากภาษาอุซเบก มีความหมายถึง “การบรรลุเป้าหมายอย่างยุติธรรม” หรือ ความหมายอีกนัยยะหนึ่งว่า “บุคคลจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ ต้องกระทำด้วยความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น และความสม่ำเสมอเท่านั้น”ในประวัติศาสตร์ของประเทศทางแถบตะวันออกกลางของทวีปเอเซีย ได้กล่าวไว้ว่า คูราช นอกจากจะเป็นศิลปะการต่อสู้ประเภทมวยปล้ำประจำถิ่นแล้ว ยังเป็นกีฬาของสาธารณชนที่นิยมเล่นเพื่อความสนุกสนาน ในเทศกาลสำคัญต่างๆอีกด้วย ตำนานของเอเซียกลางเมื่อ 1,000 ปีก่อนกล่าวว่า คูราชเป็นกีฬาที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด และนิยม ฝึกฝนอย่างกว้างขวางในเอเซียกลาง คูราชเป็นกิจกรรมทางกายที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งในการรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของมนุษย์ ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าการฝึกฝนคูราชได้เริ่มขึ้นหรือมีกำเนิดครั้งแรกโดยใคร ที่ไหน และเมื่อใด แต่ส่วนมากต่างเห็นพ้องต้องกันว่า คูราช เป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่ประเภทหนึ่งที่ผู้คนฝึกฝนกันมานาน คูราชได้กลับมาพัฒนาใหม่ในศตวรรษที่ 8 ผู้คนในเอเซียกลางสมัยนั้นใช้คูราชเพื่อความ สนุกสนานและเฉลิมฉลองเทศกาลที่สำคัญๆ ทางสังคม เช่น วันหยุดพักผ่อน งานสมรส และพิธีฉลองต่างๆ ต่อมากีฬาคูราชได้พัฒนาจากการเล่นเพื่อความสนุกสนานกลายเป็นกีฬาเพื่อการแข่งขันและการพัฒนาความแข็งแกร่งของร่างกาย นักกีฬาคูราชที่มีชื่อเสียงว่าแข็งแรงที่สุดในศตวรรษที่ 12 คือ พาลาวาน มาฮาหมัด ซึ่งสุสานที่อุซเบกิสถานของเขานับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่ผู้คนในเอเชียกลางไปเคารพบูชาและเยี่ยมชม ในศตวรรษที่ 14 สมัยที่ชนชาวติมอร์รุ่งเรืองและมีความเจริญทางอารยธรรม ชาวติมอร์ได้ใช้กีฬาคูราชเพื่อฝึกฝนและพัฒนาความสมบูรณ์แข็งแรงของเหล่าทหาร และเป็นที่รู้จักกันดีไปทั่วโลกในสมัยนั้นว่าทหารติมอร์มีความแข็งแรงเยี่ยมยอดที่สุด…

  • เครื่องแต่งกายของผู้ตัดสินกีฬาคูราช

    เครื่องแต่งกายของผู้ตัดสินกีฬาคูราช

    เครื่องแต่งกายของผู้ตัดสินกีฬาคูราช เครื่องแต่งกายผู้ตัดสินกีฬาคูราชในร่ม สำหรับเครื่องแต่งกายของผู้ตัดสินกีฬาคูราชในร่มทั้งชายและหญิง สหพันธ์กีฬาคูราชนานาชาติ (IKA) ได้กำหนดเครื่องแบบไว้อย่างชัดเจนประกอบไปด้วย สูท และกางเกงขายาวสีดำ, ถุงเท้าสีดำ, เสื้อเชิ้ตสีขาวและเนคไทสีดำ ผู้ตัดสินทุกคนต้องมีป้ายบอกหมายเลขประจำตัว และติดไว้กับเครื่องแต่งกายในจุดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เครื่องแต่งกายผู้ตัดสินกีฬาคูราชชายหาด สำหรับเครื่องแต่งกายของผู้ตัดสินกีฬาคูราชชายหาด กำหนดให้สวมเสื้อยืดคอปกสีขาว สวมกางเกงขาสั้นสีขาว ไม่ต้องสวมรองเท้า ทั้งนี้อาจสวมแว่นตากันแดดระหว่างลงทำการตัดสินได้ บทความที่เกี่ยวข้อง คำสั่งและสัญญาณมือ อ่านบทความ การจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน อ่านบทความ การชั่งน้ำหนัก อ่านบทความ โครงสร้างของคณะกรรมการตัดสิน อ่านบทความ เครื่องแต่งกายของผู้ตัดสินกีฬาคูราช อ่านบทความ ดูเพิ่มเติม

  • เครื่องแต่งกายของนักกีฬาคูราช​

    เครื่องแต่งกายของนักกีฬาคูราช​

    เครื่องแต่งกายของนักกีฬาคูราช เครื่องแต่งกายพื้นฐานสำหรับการเข้าร่วมแข่งขัน นักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องใช้ ยักต้า (yakhtak)  สีน้ำเงิน หรือ สีเขียว,  กางเกงสีขาว, เข็มขัดสีแดง โดยผู้แข่งขันหญิงสวมใส่เสื้อกีฬาสีขาว หรือ เสื้อซับในแขนสั้นรองใต้ yakhtak และสอดเก็บชายไว้ในกางเกง นักกีฬาทั้งเพศหญิงและชายไม่สวมรองเท้า เครื่องแต่งกายควรจะทำจากฝ้าย อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ไม่แข็งหรือหนามาก เมื่อเริ่มการแข่งผู้แข่งขันที่เรียกชื่อก่อนจะต้องขึ้นมาด้วยเสื้อคลุมสีน้ำเงิน และคนที่สองใช้เสื้อคลุมสีเขียวถ้า yakhtak ของผู้เข้าแข่งขันไม่ถูกต้องตามระเบียบ ผู้ชี้ขาดจะต้องสั่งให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันเปลี่ยน  yakhtak  ผู้เข้าแข่งขันต้องยื่นมือแสดงให้กรรมการดูก่อนว่าความยาว และความกว้างของแขน yakhtak ถูกต้องตามกฎ อนุญาตให้ใช้สัญลักษณ์ได้ดังต่อไปนี้ สัญลักษณ์ของประเทศ (บนหน้าอกด้านซ้าย ขนาดไม่เกิน 10 x 10 ซม.) เครื่องหมายการค้าของผู้สนับสนุน (ขนาดไม่เกิน 3 x 3 ซม. ด้านล่างข้างหน้าเสื้อชั้นนอก) สัญลักษณ์ตรงหัวไหล่ (ต้องมีขนาดยาวไม่เกิน 25 ซม. และกว้างไม่เกิน 5 ซม.) แถบ (ขนาด 25 x25 ซม. อนุญาตให้ติดด้านหลังอาจรวมนามสกุลของนักกีฬาด้วยก็ได้)…

  • มาตรฐานสนามกีฬาคูราช

    มาตรฐานสนามกีฬาคูราช

    มาตรฐานสนามกีฬาคูราช การแข่งขันกีฬาคูราชในปัจจุบัน กีฬาคูราชได้ก้าวสู่การเป็นกีฬาสากลที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย ได้มีการบรรจุกีฬาคูราชเข้าไว้ในการแข่งขันระดับนานาชาติหลายรายการ อาทิ การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ การแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ การแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนอินดอร์และมาเชียลอาร์ตเกมส์ การแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนบีชเกมส์ การแข่งขันกีฬาคูราชชิงชนะเลิศแห่งเอเชียและทวีปต่างๆ การแข่งขันกีฬาคูราชชิงแชมป์โลก เป็นต้น กิแลม(Gilam) หรือ สนามแข่งขัน​ กิแลม(Gilam) หรือ สนามแข่งขัน มาตรฐานที่ใช้ในการจัดการแข่งขันระดับชาติและนานาชาติจะต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 14 x 14 เมตร และไม่เกิน 16 x 16 เมตร เบาะแข่งขัน เบาะแข่งขัน ที่ใช้ในการแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 เขต คือ เขตพื้นที่ต่อสู้ และ เขตนอกพื้นที่ต่อสู้โดยปกติสีของกิแลมจะต้องปูด้วยเบาะสองสี ซึ่งที่นิยมใช้ได้แก่ สีเขียว, สีเขียวอ่อน, สีฟ้า, สีน้ำเงิน, สีเหลือง, สีส้ม, สีแดง, ฯลฯ เพื่อแยกให้เห็นความแตกต่างระหว่าง เขตพื้นที่ต่อสู้ (In Side) และ เขตนอกพื้นที่ต่อสู้ (Out Side) พื้นที่ต่อสู้ In Side หมายถึงพื้นที่ด้านในกิแลม มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งจะเรียกว่า “เขตพื้นที่ต่อสู้ หรือ เขตแข่งขัน…